Management of Tear Gas Exposure

แปลและเรียบเรียงจาก Carron P, Yersin B. Management of the effects of exposure to tear gas. BMJ. 2009;338:b2283.


  • จริงๆ ไม่ได้เป็นก๊าซ แต่เป็นของเหลวหรือของแข็งในรูปแบบผงหรือหยดของเหลว
  • สารเคมีที่นิยมใช้: chlorobenzylidene-malononitrile (CS), chloroacetophenone (CN), dibenzoxazepine (CR), oleoresin capsicum (OC), pelargonic acid vanillylamide (PAVA), diphenylaminochloroarsine (DM) นอกจากนี้สเปรย์พริกไทยอาจจะมี Capsaicin เป็นส่วนประกอบหลัก โดยสารเหล่านี้มีความเข้มข้นตั้งแต่ 1-15%
  • Chloroacetophenone: กลิ่นแอปเปิล, ผงหรือหยด, ออกฤทธิ์ใน 3-10 วินาที นาน 10-20 นาที
  • Chlorobenzylidene malononitrile: กลิ่นพริกไทย, ออกฤทธิ์ใน 10-60 วินาที นาน 10-30 นาที
  • Dibenzoxazepine: ไม่มีกลิ่น มักติดตามเสื้อผ้าง่าย, ออกฤทธิ์ทันที นาน 15-60 นาที
  • Diphenylaminochloroarsine: ไม่มีกลิ่นหรือกลิ่นอัลมอนด์ ทำให้รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน, ออกฤทธิ์เร็ว นาน >60 นาที
  • Oleoresin capsicum: กลิ่นพริกไทย ติดตามเสื้อผ้าง่าย, ออกฤทธิ์เร็ว นาน 30-60 นาที

ทำงานอย่างไร:
  • สารเหล่านี้มีกลุ่มของ Chlorine หรือ Cyanide อยู่ในตัว เมื่อสัมผัสกับเยื่อบุผิวหนังจะทำให้ Cation Channel TRPA1 ของเซลล์ปลายประสาททำงาน นอกจากนี้ Oleoresin capsaicum สามารถกระตุ้นปลายประสาทได้โดยตรงทำให้มีการหลั่งของ Substance P นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมเช่นความร้อนและความชื้นที่สูงยังทำให้ออกฤทธิ์ได้มากขึ้นด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วสารเหล่านี้ออกฤทธิ์เร็วและสั้น และมักมีความปลอดภัย คือความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์กับความเข้มข้นที่อันตราย (Incapacitating dose/Lethal dose) ห่างกันมาก
  • ปัจจัยที่ส่งผลให้มีฤทธิ์มากขึ้น
    • ผู้ป่วยเป็น Asthma, COPD, CV Disease, Hypertension, เด็ก, คนแก่, ใส่ Contact Lense, มีโรคตา
    • โดนในที่ปิดมิดชิด, ไม่มีการระบายอากาศ
    • โดนปริมาณมาก, โดนนาน, โดนบ่อย, โดนสารที่รุนแรงกว่า (Chloroacetophenone < Chlorobenzylidine malononitrile < Dibenzoxazepine < Diphenylaminochloroarsine)
  • รายละเอียดของการออกฤทธิ์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีข้อมูลการทดลองในคน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วอาการที่รุนแรงที่สุดคืออาการไหม้ (Burn) ซึ่งอาจเป็น 1st Degree/2nd Degree
อาการ Complication
ที่อาจเกิดได้
Sequalae
ที่อาจเกิดได้
Eyes Tearing, burning
sensation, blepharospasm, photophobia, corneal
edema
Keratitis, corneal
erosion, intraocular hemorrhage
Cataract, glaucoma
Respiratory Tract Severe rhinorrhea,
Sneeze, Cough, Dyspnea, Pharyngitis,
Tracheal/bronchitis
Bronchospasm, hypoxemia,
pulmonary edema
Reactive airways
dysfunction syndrome, asthma
Cardiovascular Hypertension Heart failure, cerebral
hemorrhage
Skin Rash, edema, erythrema,
blistering
Irritant dermatitis,
facial edema
Allergic dermatitis
GI Buccal irritation,
salivation, odynodysphagia, abdominal pain,
diarrhea, nausea, vomiting
Liver toxicity
Nervous system Trembling, agitation,
anxiety
Hysterical reaction

Management
  • Avoid exposure โดยหากไม่สามารถออกจากบริเวณนั้นได้ อาจจะต้องอยู่ที่ๆ สูงกว่าเนื่องจากพวกนี้มีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ, ป้องกันไม่ให้ผู้รักษาถูกไปด้วย เช่นใส่ชุดที่คลุมถึงมือและคอ ใส่ถุงมือและหน้ากาก, อยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทง่าย, เอาเสื้อผ้าที่ถูกสารออกด้วยการตัดทิ้งและใส่ไว้ในถุงพลาสติกซ้อนสองชั้น
  • การรักษามักเป็นไปในแนว Symptomatic มากกว่า ควรระวังในรายที่มี Respiratory Symptoms เยอะ มี Broncospasm, Blepharospasm มาก
  • ถ้าถูกตา: ล้างด้วย 0.9% sodium chloride 10-15 นาที, เอา contact lense ออก, ห้ามขยี้ตาหรือเอามือป้ายหน้า, ส่งพบหมอตา
  • ถ้าถูกบริเวณอื่น: ล้างด้วยน้ำและสบู่ในบริเวณที่โดน (ยังเป็น Controversial อยู่ บางที่อาจให้ล้างด้วย Diphoterine) ถ้าพบเป็นผื่นให้ Topical Steroid/Antihistamine เหมือน Irritant Dermatitis ทั่วไป
  • ถ้ามี Pulmonary Symptom (Bronchial Spasm): Oxygen, beta-2 agonist aerosol, ควร Admit ดูอาการ 24-48h เพื่อระวัง Pulmonary Edema
  • GI Symptom: มักหายเอง

One response to “Management of Tear Gas Exposure

  1. zybernav

    ขอบคุณครับ เหมาะกับสถานการณ์ และคนในสถานการณ์เลยครับ

Leave a Reply

ช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยครับ

Please leave a comment.

(c) Copyright 2015 Pawin Numthavaj. Powered by Blogger.