Phantom Vibration Syndrome

เคยรู้สึกบ้างไหม ว่าบางครั้งเรารู้สึกว่าโทรศัพท์ที่ถืออยู่นั้นสั่น แต่จริงๆ พอหยิบขึ้นมาแล้วมันกลับไม่ได้สั่นเสียหน่อย ถ้าคุณเคย คุณก็ไม่ได้เป็นอยู่เพียงคนเดียวครับ

รายงานจาก BMJ ฉบับล่าสุด (ฉบับฉลองคริสต์มาสเลยมีเปเปอร์สนุกๆ ให้อ่านเล่นๆ) ได้ทำการศึกษาแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขจำนวน 176 คนที่ใช้งานอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่สามารถสั่นได้เกี่ยวกับอาการดังกล่าว (เรียกว่า Phanthom Vibration Syndrome) ผลปรากฎว่า

  • 115 ราย (68%, 95%CI 61-75%) รายงานว่ามีเหตุการณ์ดังกล่าว โดยส่วนใหญ่เป็นทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน 14% เป็นทุกวัน
  • 7% รู้สึกว่ามันค่อนข้างน่ารำคาญ (bothersome) หรือน่ารำคาญมาก (very bothersome)
  • ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความรู้สึกหลอนนี้คือ อายุมาก, นักเรียนแพทย์หรือแพทย์ประจำบ้าน, ใส่ไว้ที่กระเป๋าหน้าอก, ใช้โหมดสั่นบ่อยมากหรือตลอดเวลา, ใช้โทรศัพท์มากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน
  • 61% ของจำนวนผู้ที่ใช้พยายามทำให้อาการหาย โดยวิธีแก้คือขยับ ย้ายเครื่องหรือเลิกใช้โหมดสั่น
  • ผู้วิจัยเชื่อว่าปัญหาอาจเกิดจากการที่สมองวิเคราะห์การรู้สึกสับสน เพราะสมองกำลังอยู่ในโหมด "รอโทรศัพท์" จึงทำให้รู้สึกว่าแรงจากการขยับเสื้อ, กล้ามเนื้อหดตัวเป็นการสั่นแทน
  • อาการนี้จะเรียกว่าเป็น "อาการหลอน" (Hallucination) ก็ได้
  • สิ่งที่ไม่รู้คือ ทำไมเกิดขึ้นกับเด็กๆ, ทำไมบางที่ของร่างกายถึงเป็นมากกว่า

Middle Ear Implants

ได้มีโอกาสอ่าน Middle Ear Implant Systematic Review และนำเสนอในชั่วโมง Journal Club จึงขอสรุปและเอา PowerPoint มาแปะ เผื่อมีคนสนใจ

Middle Ear Implant - MEI คือ Implant ที่ฝังอยู่ในหูชั้นกลาง ทำหน้าที่เสริมจากหน้าที่ของกระดูกหู (Malleus, Incus, Stapes) โดยเป้าหมายของเครื่องพวกนี้กลับไม่ใช่เป็นเพื่อผู้ป่วย Conductive Hearing Loss เพียงอย่างเดียว กลับเป็นว่า Implant ส่วนใหญ่ได้รับ Indication ในผู้ป่วยที่เป็น Sensorineural Hearing Loss เนื่องจากข้อจำกัดของเครื่องช่วยฟังแบบเดิมๆ (Conventional Hearing Aid - CHA) ที่ต้องสวมในหูชั้นนอก ที่ไม่สามารถใช้ในผู้ที่มีความผิดปกติของหูชั้นนอก หรือผู้ที่อายว่าตัวเองต้องใส่ CHA โดยเจ้า MEI นี้จะไปสั่นกระดูกเหล่านั้นแทน โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่างอากาศที่อยู่ในหูชั้นนอกแบบ CHA ทั่วไป

โดยปัจจุบันมีเครื่องที่มีรายงานเปรียบเทียบกับ CHA อยู่ประมาณ 5 ยี่ห้อ คือ

  • Vibrant Soundbridge
  • Middle Ear Transducer
  • SOUNDTEC
  • Esteem Envoy
  • Rion
ที่นิยมขายๆ อยู่น่าจะเป็นของ Vibrant Soundbridge และ Esteem Envoy กล่าวโดยสรุปจาก Systematic Review แล้วพบว่าส่วนใหญ่จะดีทัดเทียม หรือดีกว่า Hearing Aid แบบธรรมดา และผู้ป่วยมักจะชอบแบบนี้มากกว่าของเดิม (ซึ่งก็ต้องคิดไว้ก่อนว่าอาจจะเป็น Selection Bias เอาแต่คนไม่ชอบ HA แบบเดิมๆ มาเข้า Study) นอกจากนี้เรายังไม่มีข้อมูลในแง่ของ Long Term ก็คงจะต้องดูต่อไป

ฟิล์มคนไข้: ความเป็นส่วนตัวกับการศึกษา

การถ่ายภาพคนไข้เพื่อนำเสนอในเชิงวิชาการนั้นโดยทั่วไปจำเป็นจะต้องมีเอกสารบอกกล่าวกับคนไข้ก่อน แต่สำหรับฟิล์ม Xray หรือภาพถ่ายชิ้นเนื้อนั้นอาจไม่จำเป็นทีเดียวนัก

นโยบายของวารสารทางการแพทย์หลักๆ นั้นไม่ได้จำเป็นจะต้องได้รับเอกสารบอกกล่าวในกรณีที่เป็นรูปที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นของใคร เช่นนโยบายของ BMJ นั้นได้กล่าวไว้ว่ารูปต่างๆสามารถใช้ได้ถ้าเกิดว่าไม่สามารถบ่งบอกได้ว่ารูปนั้นๆ เป็นของใคร และนโยบายของ NEJM นั้นกล่าวเพียงแค่ว่าถ้ามีรูปที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นใคร ผู้ป่วยจะต้องเซ็นชื่อก่อนถึงจะนำมาเผยแพร่ใน NEJM ได้

สำหรับใน HIPAA ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวนั้นได้กลาวว่าจะต้องไม่มี 18 อย่างนี้อยู่ในรูปถ่าย ถึงจะใช้เผยแพร่ทางการศึกษาได้ (ตัวหนาน่าจะเป็นอันที่เจอได้บ่อย)

  1. ชื่อ
  2. ที่อยู่ที่ละเอียดกว่ารัฐ (ในไทยน่าจะใช้แค่ ภาคเหนือ ภาคอิสาน)
  3. วันที่ หรือเดือน (ยกเว้น ปี) ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งคนที่อายุ 90 ขึ้นไปให้เขียนแค่ว่าอายุมากกว่า 90
  4. เบอร์โทรศัพท์
  5. เบอร์แฟกซ์
  6. เบอร์อีเมล
  7. หมายเลขประกันสังคม
  8. หมายเลขเวชระเบียน
  9. หมายเลขของ Health Plan Beneficiary
  10. หมายเลขบัญชี (ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรกันแน่)
  11. หมายเลข Certificate/License
  12. หมายเลขป้ายทะเบียนรถ
  13. หมายเลขของเครื่องมือต่างๆ
  14. URL
  15. IP address
  16. ลายนิ้วมือหรืออะไรก็ตามที่ใช้บ่งบอกตัวแทนบุคคลในลักษณะเดียวกัน
  17. ภาพใบหน้าตรงหรือใกล้เคียงกัน
  18. หมายเลขอื่นใดที่สามารถบ่งบอกตัวได้

ที่มา:  Clinical Cases and Images blog by Dr. Ves Dimov

ว่าด้วย StarCraft II

ได้มีโอกาสซื้อ StarCraft II: Wings of Liberty มาเล่นครับ จริงๆ แล้วผมเองชอบเล่นเกมของค่ายนี้ตรงที่รายละเอียดทำได้ดี และผมมั่นใจว่ามันคงจะเป็นที่นิยมไปอีกหลายปี ก็เลยยอมควักตังค์สองพันกว่าๆ ซื้อของแท้มาเล่นดูครับ หลังจากเล่นเนื้อเรื่องจบแล้วก็ค้นพบว่า

  • ตัวเกมจะลงในเครื่อง แต่ถ้าเราจะเล่นต้องต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อ Log In เข้า Battle.net ก่อน ถ้าไม่มีอินเทอร์เน็ตก็เล่นไม่ได้ แต่หลังจาก Activate 1 ครั้งแล้วจะสามารถเล่นแบบ Offline ได้ด้วย
  • ข้อดีของการล็อกอินก็คือมันจะจำไว้ด้วยว่าเราเล่นถึงไหนแล้ว ไปเล่นเครื่องอื่นต่อก็ได้ และยังมีระบบ Achievements ไว้อวดเพื่อนๆ อีกว่าเล่นได้ดีแค่ไหน (1 Mission จะมี 3 Achievements และในโหมดเล่นหลายคนก็มี Achievements ให้เก็บอีก)
  • เราเล่นเป็น Terran เป็นหลัก จาก 30 Mission มีสัก 3-4 Mission จะได้เล่น Protoss นิดๆ แต่ไม่ได้เล่นเป็น Zerg เลยในโหมดเนื้อเรื่อง
  • Mission ไม่ได้เป็น Linear แล้ว มีทางเลือกหลายทางให้เลือกเล่น นอกจากนี้บางทีก็จะขึ้นมาให้เลือกว่าเราอยากอยู่กับฝ่ายไหน ซึ่งจะทำให้ได้เล่นคนละ Mission กัน
  • Mission แต่ละอันทำได้ดี มีความหลากหลายพอสมควร มีบางครั้งต้องรีบขนฐานสลับกับสร้างฐาน บางอันต้องทำลายรถไฟ บางอันจะมีลาวาขึ้นมาทำลายยูนิตเป็นระยะๆ ต้องหลบบ่อยๆ ฉากที่ไม่ต้องสร้างฐานเอง ใช้ความสามารถของยูนิตที่ให้มาเท่านั้นก็มีประปราย
  • เล่นแบบ Normal ง่ายพอสมควร คงไม่ต้องโหลดใหม่บ่อยๆ แต่แบบ Hard นี่เล่นไปได้ 6-7 ด่านแล้วรู้สึกว่าหลังๆ จะยากมาก โดนถล่มเละตลอด นี่ยังมีแบบ Brutal อีกคาดว่าคงเล่นไม่ได้ซะเท่าไหร่ (สำหรับคนที่ไม่เคยเล่นมาก่อนมีแบบง่ายกว่า Normal ด้วย) 
  • มีระบบอัพเกรดความสามารถต่างๆ โดยเมื่อเล่นจบแต่ละด่านจะได้เงิน หรือได้ Research Point ไว้ซื้ออัพเกรดต่างๆ เช่น เพิ่มให้ทหารมีความอึดมากขึ้น ให้ยานมีความสามารถใหม่ๆ ให้โรงเก็บก๊าซทำงานอัตโนมัติไม่ต้องขนก๊าซเองเป็นต้น
  • ไม่ค่อยมีความลับหรือพวก Easter Eggs เท่าไหร่ในเกมเมื่อเทียบกับ Warcraft III (หรือจริงๆ อาจมีแต่หาไม่เจอเองก็ไม่รู้) มีฉากลับ 1 ฉาก คล้ายของภาคที่แล้ว
  • Cinematics ที่เป็น Pre-rendered จริงๆ มีสามสี่อันเอง แล้วบางอันก็เอามาทำเป็น Trailer ไปซะก่อนแล้ว ส่วน cinematics ที่เป็น In-game rendered ก็มีอยู่พอสมควร
  • เมื่อเทียบกับภาคที่แล้วรู้สึกว่าเนื้อเรื่องคืบหน้าไปนิดนึงเอง สงสัยจะเก็บไว้เล่าต่อในบทที่ 2, 3 (Zerg: Heart of the Swarm, Protoss: Legacy of the Void)
  • มียูนิตที่ไม่เห็นในเกมที่เล่นหลายคนอยู่หลายตัวเหมือนกัน เช่นพวก Medics, Science Vessel ที่มาจากภาคที่แล้วก็ยังมีอยู่ในโหมดเนื้อเรื่อง แต่ไม่มีในโหมดเล่นหลายคน
ได้ลองเล่นแบบ Multi-player เล็กน้อย ยังไม่ได้ลองจริงจัง กลัวติดแฮะ :D

รีวิว WD TV Live

วันนี้มีโอกาสไปเดินงาน Commart X-Gen 2010 มาครับ ส่วนตัวผมเล็งๆ เครื่องเล่นที่สามารถเล่นไฟล์วิดีโอสำหรับ High-Definition TV อยู่แล้วเนื่องจากเครื่องโน้ตบุ๊คที่ใช้อยู่ต่อออกจอเพียง 21 นิ้วมันดูหนังไม่สมใจ นอกจากนี้เมื่อเร็วๆ นี้คุณพ่อก็ได้ซื้อ LCD TV ตัวใหม่มานั่งดูบอลจากยูบีซีธรรมดา (ซึ่งความละเอียดไม่ได้เรื่อง) ก็เลยคิดว่าลองซื้อเครื่องเล่นมาใช้ดูดีกว่า

ตัวเลือกที่ตัดสินใจเบื้องต้นคืออาจซื้อเป็นเครื่องเล่น HD ที่ขายๆ กันอยู่ (และสอยมาแล้ว) แล้วก็พวกเกมคอนโซลอย่างเช่น Playstation 3 ที่สามารถเล่น Blu-ray ได้ด้วย หรือไม่ก็ซื้อโน้ตบุ๊คมาเล่นมันซะเลย แต่ในที่สุดก็เลือกเจ้าเครื่องเล่น HD แทนเนื่องจาก

  • Playstation3 เล่นแต่ Blu-ray ได้อย่างเดียวดาวน์โหลดอะไรใส่เข้าไปลำบาก แต่ข้อดีคือเล่นเกมได้
  • โน้ตบุ๊คเอามาเสียบนั้นเวลาคนอื่นที่ไม่ค่อยรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มาใช้จะยุ่งยากเพราะต้องต่อสายหลายอันและกว่าจะบูตเครื่องเสร็จก็หมดอารมณ์ดูแล้ว นอกจากนี้ยังมีราคาแพงที่สุด (เพราะต้องรวมค่าซอฟต์แวร์ ฯลฯ อีกด้วย)
  • เครื่องเล่น HD ที่สามารถเสียบฮาร์ดดิสก์หรือไดรว์ USB ได้ ราคาถูกที่สุดในสามตัวเลือกนี้ แถมยังมีรีโมตอีกด้วย


Management of Tear Gas Exposure

แปลและเรียบเรียงจาก Carron P, Yersin B. Management of the effects of exposure to tear gas. BMJ. 2009;338:b2283.


  • จริงๆ ไม่ได้เป็นก๊าซ แต่เป็นของเหลวหรือของแข็งในรูปแบบผงหรือหยดของเหลว
  • สารเคมีที่นิยมใช้: chlorobenzylidene-malononitrile (CS), chloroacetophenone (CN), dibenzoxazepine (CR), oleoresin capsicum (OC), pelargonic acid vanillylamide (PAVA), diphenylaminochloroarsine (DM) นอกจากนี้สเปรย์พริกไทยอาจจะมี Capsaicin เป็นส่วนประกอบหลัก โดยสารเหล่านี้มีความเข้มข้นตั้งแต่ 1-15%
  • Chloroacetophenone: กลิ่นแอปเปิล, ผงหรือหยด, ออกฤทธิ์ใน 3-10 วินาที นาน 10-20 นาที
  • Chlorobenzylidene malononitrile: กลิ่นพริกไทย, ออกฤทธิ์ใน 10-60 วินาที นาน 10-30 นาที
  • Dibenzoxazepine: ไม่มีกลิ่น มักติดตามเสื้อผ้าง่าย, ออกฤทธิ์ทันที นาน 15-60 นาที
  • Diphenylaminochloroarsine: ไม่มีกลิ่นหรือกลิ่นอัลมอนด์ ทำให้รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน, ออกฤทธิ์เร็ว นาน >60 นาที
  • Oleoresin capsicum: กลิ่นพริกไทย ติดตามเสื้อผ้าง่าย, ออกฤทธิ์เร็ว นาน 30-60 นาที

Penetrating Neck Injury

จดเอาไว้ให้เข้ากับสถานการณ์


จาก Cumming's Otolaryngology - Head & Neck Surgery, 5th Edition (2010)

Sign & Symptom

  • Airway: Respiratory distress, Stridor, Hemoptysis, Hoarseness, Tracheal deviation, Subcutaneous emphysema, Sucking wound
  • Vascular: Hematoma, persistent bleeding, neurodeficit, absent pulse, shock, bruit, thrill
  • Nervous: Hemiplegia, quadriplegia, coma, CN deficit, hoarseness
  • Esophagus/hypopharynx: subcutaneous emphysema, dysphagia, odynophagia, hematemesis, hemoptysis
Handgun
  • Impact 50 m/s เข้า skin, 65 m/s fracture bone
  • Civilian - Low-muzzle velocity (90 m/s)
  • มักเบียด vascular structures มากกว่า
  • High velocity bullet: > 610 m/s
  • Handgun/pistol (.22, .45) : 210-600 m/s
  • Magnum .44 : greater velocity – injury comparable with rifle
  • กระสุนที่เบี่ยงวิถี/เด้ง จะสร้างความเสียหายมากกว่า
Rifle
  • Mostly 760 m/s
  • Created cavity up to 30 times the size of bullet
  • High energy missiles not easily deflected, cause significant destruction along path (energy absorbed)
  • Mortality is significant, usually not survive to study
Shotgun
  • Pellets scatter as they travel
  • At close range: act like single missile similar to high-velocity bullet of rifle (blast)
  • At further distance: act like multiple bullet (depends on gauge, shot, powder load and choke of gun) – may be hidden in multiple locations
  • Low-velocity (300 m/s)

Braid: มากกว่าเกมธรรมดา

จริงๆ ผมซื้อเกม Braid มาจาก Steam ได้สักพักแล้วแต่ยังไม่ค่อยได้เล่น เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลา พอดีช่วงหยุดสงกรานต์ว่างขึ้นหน่อยจึงลองหยิบมาเล่นดูครับ

ตัวเกมอาจจะดูไม่มีอะไรใหม่ หลายคนเมื่อเปิดดูเลเวลแรกแล้วอาจจะรู้สึกว่ามันก็เกมมาริโอ้นี่หว่า.. ใช่ครับ เราเล่นเป็นตัวเอกที่วิ่งจากด้านซ้ายไปด้านขวา, กระโดดเหยียบศัตรู, ปีนขึ้นๆ ลงๆ บันได, พยายามหลบลูกกระสุนปืน, ตอนท้ายเลเวลจะมีบอสตัวใหญ่ๆ อยู่ในห้องให้ฆ่า และแน่นอนว่าเรากำลังตามหาเจ้าหญิงอยู่ แต่สิ่งที่เหนือไปกว่ามาริโอ้นั่นคือ เกมนี้มี "เวลา" เป็นธีมของเกมครับ

นั่นหมายความว่าเราสามารถที่จะย้อนเวลากลับไปเมื่อเรากระโดดผิด, เหยียบพลาด หรือสับสวิตช์บางอย่างผิดได้ครับ โดยการย้อนเวลานี้สามารถทำได้เรื่อยๆ จนถึงต้นเลเวลเลยทีเดียว และนอกจากที่จะย้อนเวลาแล้ว ในเลเวลถัดๆ มา นั้นจะมีการเล่นกับเวลาอีกหลายแบบด้วยกัน แม้แต่ Alternate Universe หรือตัวละครที่เกิดขึ้นในอีกมิติหนึ่งก็ได้ด้วย (เกมแบบแพลตฟอร์มที่มีการเล่นกับเวลาคล้ายๆ กันนี้ก็เช่นเกม Prince of Persia ในชุด Sands Of Time ที่ย้อนเวลาและทำให้เวลาช้าลงได้ ซึ่งกำลังจะมีภาพยนตร์ในเร็วๆ นี้ และเกม Misadventure of PB Winterbottom ที่ยังไม่ออก ส่วนเกมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเวลานั้นลองดูรายชื่อได้ที่ Moby Games)

แต่สิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าเกมนี้เจ๋งนั้นมันไม่ได้หยุดแต่เพียงแค่นี้ครับ Braid ยังบอกเล่าถึงเรื่องราวที่ตอนจบนั้นยากที่จะคาดถึง และยังมี "ความลับ" ที่ถูกซ่อนไว้อยู่ในตัวเกมอีกมากมาย (นึกสภาพตอนเล่นมาริโอ้แล้วหาทางลับนั่นแหละอารมณ์เดียวกัน) นอกจากที่เกมจะเล่าเรื่องราวของตัวเอกแล้วมันก็ยังแฝงไว้ด้วยความหมายที่เป็นนัยมากกว่านั้นอีก (อันนี้ถ้าอยากรู้จริงๆ ลองหาในเน็ตก็ได้มีคำอธิบายและถกเถียงอยู่พอควร) บางคนนั้นได้ให้ความเห็นว่าเกมนี้ก้าวผ่านความเป็นเกม ไปสู่การเล่าเรื่อง ซึ่งแม้แต่หนังส่วนใหญ่ก็ยังทำได้ไม่ดีเท่าเสียด้วยซ้ำ!

กราฟฟิคที่เกมใช้นั้นถือว่าสวยงาม และไม่ได้กินเครื่องเลยครับ (ผมเล่นกับโน้ตบุ๊คการ์ดจอออนบอร์ดสบายๆ) นอกจากนี้เพลงประกอบถึงแม้ว่าผู้สร้างเกมนั้นจะประหยัดงบด้วยการเลือกใช้เพลงที่มีอยู่ในท้องตลาด แต่เมื่อประกอบกับตัวเกมและวิธีการเล่นเกมแล้วก็ทำให้รู้สึกดีทีเดียว เช่นเวลาเราย้อนเวลานั้นเพลงก็จะเล่นย้อนกลับด้วย ใครอยากฟังเพลงประกอบเต็มๆ ก็สามารถฟังได้จาก Magnatune ซึ่งเป็นเว็บที่จำหน่ายเพลงครับ

สำหรับค่าตัวที่ประมาณ 10 ดอลลาร์สหรัฐ ผมว่าคุ้มมากครับ (แต่ผมซื้อมาตอนมันลดเหลือ 5 ดอลลาร์ ยิ่งคุ้มเข้าไปใหญ่!) ใครอยากลองก่อนเสียเงินก็ลองโหลด Demo มาดูได้ครับ (แต่ระวังอย่างหนึ่งคือ เล่นแล้วอาจจะอินมากจนนึกว่าย้อนเวลากลับไปตอนยังไม่เริ่มเล่นได้นะครับ อิอิ)

ปิดเสียงกล้องใน Omnia Lite

ปัญหาที่คิดว่าหลายคนคงเจอก็คือ กล้องที่ติดมากับ Samsung Omnia Lite (และคาดว่า Omnia รุ่นอื่นๆ ด้วย) นั้นไม่สามารถปิดเสียงได้แม้ว่าจะอยู่ในโหมดเงียบก็ตาม คาดว่าคงไว้กันคนแอบถ่าย อย่างไรก็ดีผมว่าเสียงชัตเตอร์ของรุ่นนี้นั้นมันดังมากครับ แม้กระทั่งถ่ายใน Hall ใหญ่ๆ ก็ยังได้ยินกันทั่วถึงเลยทีเดียว

วันนี้ผมก็เลยลองค้นหาดูว่ามีวิธีใดบ้างในการปิดเสียง พบว่าส่วนใหญ่ต้องทำการแก้ไขไฟล์ที่ชื่อว่า ShutterSound ในโฟลเดอร์ Windows ซึ่งไม่เปิดให้เข้าจากคอมพิวเตอร์หรือตัวเครื่องในภาวะปกติ ต้องทำผ่านโปรแกรม File Manager อื่นเช่น Total Commander เท่านั้น ซึ่งยุ่งยากและเสียเวลา จนผมได้ไปพบกับกระทู้นี้ ซึ่งเขียนโดยคุณ hklcf ในเว็บไซต์ MoDaCo แกได้สร้างโปรแกรมที่จัดการปิดเสียงกล้องไว้ให้เราเลยครับ

ใครใช้ Omnia Lite หรือ Omnia รุ่นอื่นๆ ที่ปิดเสียงไม่ได้ก็ลองโหลดมาใช้ดูกันนะครับ

วันๆ นึงเม้าส์คุณอยู่ตรงไหนของจอกันบ้าง

พอดี เห็นเว็บ Flowing Data เขาลองเล่นกับโปรแกรมที่จะจับการเคลื่อนไหวของ Mouse Pointer มาบันทึกเป็นรูปให้ดูอย่างง่ายๆ โดยแสดงเป็นเส้นลากไปลากมา และแสดงจุดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราแช่เม้าส์ไว้อยู่ตรงนั้น ก็เลยเอามาลองเล่นดูบ้างกับตอนผมเล่นเว็บ, ทำงานทั่วๆ ไปได้ผลแบบนี้ครับ



พอว่าส่วนใหญ่จะไปกระจุกตัวกันอยู่ด้านบน น่าจะเป็นจากการปิดแท็บของ Firefox, การคลิ๊กเพื่อพิมพ์ URL ใน Awesome Bar, ด้านซ้ายบนเป็นตำแหน่งของ Back พอดี แต่จริงๆ ผมก็ไม่ได้กดซะบ่อยนัก และจุดใหญ่ที่สุดอยู่ด้านขวา (สงสัยเพราะถนัดขวาหรือเปล่า ไม่ก็เป็นเพราะพื้นที่ว่างๆ บนเว็บเพจมันมักจะอยู่ขวาก็เลยเอาเม้าส์ไปวางไม่ให้เกะกะตัวอักษรมั้ง)

ปัญหาคีย์บอร์ดไทยของ Omnia Lite, ไอคอนแบตเตอรี่หายไปไหน

หลายคนคงจะได้เป็นเจ้าของ Omnia Lite กันแล้วนะครับ ยิ่งตอนนี้ราคาลดลงกว่าเดิม (เท่าที่ทราบเหลือประมาณ 8000 บาท) ยิ่งน่าสนใจ หลังจากตอบคำถามของหลายคนที่ผ่านมาผมพบว่าปัญหาที่เจอกันบ่อยๆ ก็มีอยู่ไม่กี่อย่างครับ

Blog Archive

(c) Copyright 2015 Pawin Numthavaj. Powered by Blogger.