การล้างมือ เป็นเรื่องพื้นฐานๆ ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อที่บริเวณมือได้ครับ
สำหรับแพทย์และศัลยแพทย์แล้ว การล้างมือก่อนการผ่าตัดนั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดการกระจายเชื้อโรคจากผู้ป่วยรายหนึ่งไปถึงผู้ป่วยอีกรายหนึ่ง โดยก่อนหน้าที่จะพบนี้ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อก่อนนั้นยังไม่มีความเจริญ หมอมีน้อย หมอสูติกรรมที่ทำแท้งต้องมาทำคลอดด้วย มีคนพบว่าหมอคนหนึ่งนั้นทำคลอดแล้วหญิงที่เขาทำคลอดให้นั้นติดเชื้อและตายหลังคลอดเป็นจำนวนมาก ผิดจากคุณพยาบาลที่ช่วยทำคลอด ซึ่งล้างมืออยู่ตลอดเวลา ก็เลยเป็นที่มาของการล้างมือครับ
ก่อนเข้าห้องผ่าตัดทุกครั้งนั้นคุณหมอหรือพยาบาลที่ช่วยผ่าตัดนั้นจะต้องทำการล้างมือ ถึงแม้ว่าหลังล้างมือเสร็จแล้วจะใส่ถุงมืออีกชั้นก็ตาม โดยขั้นตอนของการล้างมือนั้นต้องทำผ่านก็อกน้ำที่มีน้ำสะอาดไหลอยู่ตลอดเวลา สำหรับสบู่นั้นห้องผ่าตัดส่วนใหญ่จะมีให้เลือกสองอย่าง คือ Chlorhexidine scrub (น้ำยาสีแดง) และ Betadine scrub (น้ำยาสีดำเหมือนกับเบต้าดีนทาแผล แต่จะมีส่วนผสมคล้ายสบู่และมีฟองด้วยเป็นคนละตัวกับอันที่ใส่แผล) ครับ โดยจะใช้อันไหนก็พบว่าไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไหร่
การล้างมือที่สำคัญนั้นไม่ได้อยู่ที่ท่าทางเสียเท่าไหร่ มีคนพบว่า "เวลา" ต่างหากนั้นที่เป็นตัวกำหนด โดยส่วนใหญ่ถ้าการผ่าตัดไม่ได้รีบด่วนอะไร คุณหมอก็จะล้างมืออยู่ประมาณ 4-5 นาทีครับ โดยจะแบ่งเป็นสองรอบ โดยรอบแรกมี
1. ใส่น้ำยาที่ฝ่ามือ แล้วถูฝ่ามือไปมา (แบบเดียวกันกับที่เราล้างกันประจำนั่นแหละ)
2. ถูบริเวณซอกนิ้วทั้งสี่ทั้งข้างบนและข้างล่าง
3. ถูบริเวณด้านข้างของนิ้วก้อย
4. ถูบริเวณด้านหลังของนิ้ว
5. ถูบริเวณนิ้วโป้ง
6. ถูกบริเวณแขนทั้งสองข้างลงมาจนเกือบถึงศอก
หลังจากรอบแรกจบแล้ว ก็จะใช้แปรงขัดเล็บที่สะอาด ทำการขัดเล็บ (ใครเล็บยาวอดเข้าผ่าตัดนะ) หลังจากขัดเล็บแล้วก็ทำซ้ำขั้น 1-6 อีกทีหนึ่ง รวมเวลาก็ประมาณเกือบ 4-5 นาที เท่านี้ก็พร้อมที่จะเข้าห้องผ่าตัดแล้วครับ (อ้อ ห้องผ่าตัดส่วนใหญ่จะเปิดก๊อกน้ำด้วยศอก ขา หรือเป็นระบบ Sensor ที่ไม่ต้องสัมผัสนะครับ ดังนั้นไม่ต้องห่วงว่าจะต้องจับก็อกใหม่)
Archive for July 2009
ล้างมือ
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ เอ / เอช 1 เอ็น 1
พอดีวันนี้ไปตรวจ ไข้หวัดใหญ่ที่โรงพยาบาลรามา
ก็เลยได้เห็นแผ่นพับอธิบายวิธีการปฏิบัติตัวจึงเอามาฝากกันนะครับ
โดยทางโรงพยาบาลรามาฯ เปิดให้บริการตรวจคลินิกไข้หวัดตั้งแต่ 9.00 - 23.00 นะครับ
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ เอ / เอช 1 เอ็น 1
จาก แผ่นพับของโรงพยาบาลรามาธิบดี
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใมห่ เป็นโรคติดต่อระหว่างคนสู่คน เริ่มที่ประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา เมื่อมีนาคม 2552 แล้วแพร่ไปยังหลายประเทศ
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
เป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1 (A/H1N1) ไม่เคยพบมาก่อน เชื้ออยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย
การติดต่อ
เชื้อติดต่อระหว่างคนได้ง่าย โดย
- การหายใจรับเชื้อเข้าไป เมื่อผู้ป่วยไอ จามรด
หรืออยู่ในที่อากาศไม่ระบายและมีเชื้ออยู่ - การรับเชื้อผ่านทางมือ
หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่เปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์
ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าทางจมูก ปาก และตา
ผู้ป่วยแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย
แพร่เชื้อได้มากที่สุดใน 3 วันแรกที่ป่วย มักแพร่เชื้อไม่เกิน 7 วัน
อาการป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อ 1-3 วัน
ส่วนน้อยนานถึง 7 วัน
ผู้ที่ติดเชื้ออาจมีอาการน้อยเหมือนไข้หวัดธรรมดา คือมีไข้ต่ำๆ
เจ็บคอ ไอเล็กน้อย กินอาหารได้
บางคนมีอาการป่วยเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่อื่นๆ คือมีไข้
เจ็บคอ ไอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้
อาเจียน หรือมีท้องเสียด้วย
ส่วนใหญ่จะหายภายใน 5-7 วัน
โรคแทรกซ้อน
น้อยรายมีโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ มีอาการหายใจเร็ว เหนื่อย
หอบ หายใจลำบาก ซึ่งต้องรีบรับการรักษา
การรักษา
ผู้ป่วยติดเชื้อที่ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล คือ
- ผู้ป่วยที่มีอาการมาก เช่น ไข้สูง ปวดหัว
และปวดเมื่อยตัวมาก ไอมาก เหนื่อย หอบ กินอาหารไม่ได้ - ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ
(เช่น มะเร็ง ได้รับยากดภูมิต้านทาน) โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ เบาหวาน
อ้วนมาก เป็นต้น - ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 5 ปี หรือมากกว่า 65 ปี
ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย และผู้สัมผัสที่ไม่มีอาการ
ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล ควรพักรักษาตัวที่บ้าน โดย
- กินยารักษาตามอาการ เช่น กินยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้
ลดการปวดหัว ปวดเมื่อยตัว หรือเจ็บคอ เช็ดตัวลดไข้เป็นระยะ - ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น
- พยายามกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากพอเพียง
โดยทั่วไปจะกินอาหารอ่อนได้ดีกว่า เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น - ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะเพราะไม่ช่วยรักษาไข้หวัดใหญ่
เมื่ออาการไม่ดีขึ้นตามคาด ควรพบแพทย์
และหากตรวจพบว่าการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
แพทย์จะให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง
การกินยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกต้องก่อให้เกิดอันตรายได้ - พักผ่อนให้เพียงพอในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี
ไม่ออกกำลังกายหักโหมหรือทำงานหนักเกินไป - หากมีข้อสงสัย ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้านได้
การป้องกันการติดเชื้อ
"กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือ"
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- เมื่อต้องเข้าใกล้ชิดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในระยะน้อยกว่า 1
เมตร ควรปิดปากและจมูก โดยใช้ผ้า หรือสวมหน้ากากอนามัย
หากทำได้ควรให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย - ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ ถ้าไม่มีให้ใช้เจลแอลกอฮอล์แทน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย หรือของใช้ที่อาจเปื้อนน้ำมูก
น้ำลายของผู้ป่วย ก่อนกินอาหาร หลังกลับจากที่สาธารณะ หลังเข้าห้องน้ำ - ฝึกนิสัยไม่เอามือสัมผัสใบหน้า ปาก จมูก ตา โดยไม่จำเป็น
- ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ
ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น - รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยกินอาหารที่มีประโยชน์
พักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา
การป้องกันการแพร่เชื้อ
ผู้ป่วยต้องป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น โดย
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่ดี - หยุดงาน หยุดเรียน จนกว่าจะหาย
- สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น
- ทุกครั้งที่ไอจาม ให้ใช้ต้นแขน หรือทิชชูปิดจมูก ปาก
ทิ้งทิชชูลงในถังขยะที่มีฝาปิด แล้วล้างมือที่ปิดปากจมูกให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่