หมอผ่าตัดผิดที่!

เนื่องจากมีรายงานข่าวเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่ามีการผ่าตัดไตผิดข้างเกิดขึ้นในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่เป็นอันดับต้นๆ ของโลกในกรุงนิวยอร์ค ประจวบกับมีเปเปอร์ที่ออกมาพอดี ผมได้อ่านเปเปอร์ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดผิดที่นี้แล้วขอสรุปคร่าวๆ ดังนี้นะครับ

  • อุบัติการของการเกิดการผ่าตัดผิดที่ (Wrong Site Surgery) พบได้ 0.09 - 4.5 ครั้งต่อการผ่าตัด 10,000 ครั้ง
  • ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนการผ่าตัด แต่ถ้าเกิดขึ้น ก็จบเห่กันทั้งคนไข้ ทั้งหมอ นอกจากนี้ก็ไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ ถ้าหากโดนฟ้อง
  • ปกติคนเราก็ผิดพลาดกันได้ แต่การผ่าตัดต้องมีหลายคนเข้ามาเกี่ยว และมีระบบการผ่าตัดเข้ามาเกี่ยวซึ่งจะผิดไปถึงคนไข้ได้ ต้องผิดทีละหลายๆ อย่างบังเอิญพร้อมกัน (รวมถึงระบบไม่ดี) จึงจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ (โมเดลของการผิดหลายๆ อย่างพร้อมกันเรียกว่า Swiss Cheese Model)
  • ปัจจัยเสี่ยง แบ่งได้เป็น
    • ปัจจัยจากแพทย์
      • หมอผ่าตัดหลายคน หรือทำหลายการผ่าตัดหลายอย่างในครั้งเดียวกัน
      • ทำเครื่องหมายตำแหน่งที่จะผ่าตัดไม่ถูกต้อง (เช่น หมอผ่าตัดไม่ได้ทำเอง, ใช้หมึกที่ไม่ได้ตกลงกันไว้, ใช้สติ๊กเกอร์แทนการวาดเครื่องหมาย, เวลาการทำเครื่องหมายไม่ตรงกัน)
      • ไม่ตอบ time-out (อาจไม่สนใจ หรือสนใจแต่ไม่เต็มที่) time out คือการที่มีพยาบาลหรือผู้รับผิดชอบมาพูดให้เข้าใจตรงกันก่อนจะเริ่มการผ่าตัดทุกครั้งว่าใคร ผ่าอะไร ที่ไหน ฯลฯ
      • การผ่าตัดที่รีบๆ ทำ รวมถึงการผ่าฉุกเฉิน
      • เหนื่อยหรือผ่ามาหลายรายแล้ว
      • มีการเปลี่ยนการรักษาที่ทำมาเป็นประจำ
      • ไม่ได้คุยกับคนไข้หรือญาติอย่างเป็นทางการ
    • ปัจจัยจากคนไข้
      • รูปร่างผิดไปจากปกติ หรืออ้วนเกินกว่าปกติ
      • ไม่ได้เจอกับหมอก่อนที่จะเริ่มดมยาสลบ
      • คนไข้เข้าใจผิดข้าง หรือผิดการผ่าตัดเอง
      • คนไข้ที่เข้าใจผิดได้ง่าย เช่น อายุน้อย
      • ชื่อซ้ำกับคนอื่นๆ
      • คนที่ดูแลหรือญาติเหนื่อย และไม่สนใจ
    • ปัจจัยจากระบบ
      • ไม่มีการใช้ หรือใช้เอกสารที่เกี่ยวข้อง (เช่น เอกสารขอความยินยอม) ผิดวิธี
      • คนที่ร่วมหรือเกี่ยวข้องไม่กล้าพูดเมื่อเจอสิ่งผิดปกติไปจากเดิม
      • มีการเปลี่ยนเวร หรือส่งเวรไม่ถูกต้อง
      • ใช้เครื่องมือแตกต่างไปจากปกติ หรือตั้งค่าเปลี่ยนไปจากปกติ
      • ไม่มีผู้รับผิดชอบที่แน่นอน หรือผู้รับผิดชอบที่ไม่สนใจ
      • การผ่าตัดแบบเดียวกันซ้ำๆ ติดๆ กัน
      • มีแรงกดดันจากการต้อง "ทำยอด" ผ่าตัด
  • การใช้ WHO Surgical Checklist ได้รับการยอมรับแล้วว่าช่วยลดเหตุการณ์แบบนี้ได้ครับ
ที่มา: Liou T-N, Nussenbaum B. Wrong site surgery in otolaryngology–head and neck surgery. The Laryngoscope. 2013

(c) Copyright 2015 Pawin Numthavaj. Powered by Blogger.