ฟิล์มคนไข้: ความเป็นส่วนตัวกับการศึกษา

การถ่ายภาพคนไข้เพื่อนำเสนอในเชิงวิชาการนั้นโดยทั่วไปจำเป็นจะต้องมีเอกสารบอกกล่าวกับคนไข้ก่อน แต่สำหรับฟิล์ม Xray หรือภาพถ่ายชิ้นเนื้อนั้นอาจไม่จำเป็นทีเดียวนัก

นโยบายของวารสารทางการแพทย์หลักๆ นั้นไม่ได้จำเป็นจะต้องได้รับเอกสารบอกกล่าวในกรณีที่เป็นรูปที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นของใคร เช่นนโยบายของ BMJ นั้นได้กล่าวไว้ว่ารูปต่างๆสามารถใช้ได้ถ้าเกิดว่าไม่สามารถบ่งบอกได้ว่ารูปนั้นๆ เป็นของใคร และนโยบายของ NEJM นั้นกล่าวเพียงแค่ว่าถ้ามีรูปที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นใคร ผู้ป่วยจะต้องเซ็นชื่อก่อนถึงจะนำมาเผยแพร่ใน NEJM ได้

สำหรับใน HIPAA ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวนั้นได้กลาวว่าจะต้องไม่มี 18 อย่างนี้อยู่ในรูปถ่าย ถึงจะใช้เผยแพร่ทางการศึกษาได้ (ตัวหนาน่าจะเป็นอันที่เจอได้บ่อย)

  1. ชื่อ
  2. ที่อยู่ที่ละเอียดกว่ารัฐ (ในไทยน่าจะใช้แค่ ภาคเหนือ ภาคอิสาน)
  3. วันที่ หรือเดือน (ยกเว้น ปี) ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งคนที่อายุ 90 ขึ้นไปให้เขียนแค่ว่าอายุมากกว่า 90
  4. เบอร์โทรศัพท์
  5. เบอร์แฟกซ์
  6. เบอร์อีเมล
  7. หมายเลขประกันสังคม
  8. หมายเลขเวชระเบียน
  9. หมายเลขของ Health Plan Beneficiary
  10. หมายเลขบัญชี (ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรกันแน่)
  11. หมายเลข Certificate/License
  12. หมายเลขป้ายทะเบียนรถ
  13. หมายเลขของเครื่องมือต่างๆ
  14. URL
  15. IP address
  16. ลายนิ้วมือหรืออะไรก็ตามที่ใช้บ่งบอกตัวแทนบุคคลในลักษณะเดียวกัน
  17. ภาพใบหน้าตรงหรือใกล้เคียงกัน
  18. หมายเลขอื่นใดที่สามารถบ่งบอกตัวได้

ที่มา:  Clinical Cases and Images blog by Dr. Ves Dimov

Leave a Reply

ช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยครับ

Please leave a comment.

(c) Copyright 2015 Pawin Numthavaj. Powered by Blogger.